top of page

แปรรูปลูกชก

แต่ก่อนที่จะได้ลูกชกขาว ๆ ใส ๆ ให้ได้นําปรุงเป็นเมนูของหวานดังที่กล่าวไปแล้วนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เพราะจะต้องนําลูกชกสดไปต้มในน้ําเดือดสักชั่วโมงเสียก่อน โดยต้มในกระทะใบใหญ่และใช้พลาสติกคลุม เอาไว้เพื่อให้ไอความร้อนคุกรุ่นโดยทั่ว วิธีการนี้จะทําให้ยางในลูกชกละลายออกมา เพราะยางของลูกชกนั้นมี ฤทธิ์ทําให้คันเมื่อโดนผิวหนัง หากผู้ที่แพ้จะทําให้ผิวหนังแสบไหม้ได้ เมื่อก่อนนั้น จะใช้วิธีเผาไฟ คือหมกลงไป ในไฟคล้ายกับการเผากาหยี แต่การเผาไฟจะทําให้เมล็ดลูกชกมีสีเหลือง ไม่สวย ชาวบ้านจึงหันมาใช้วิธีต้มแทน

ดาวน์โหลด (5).jpg

เมื่อต้มจนสุกแล้ว ก็นําลูกชกมาพักไว้ รอให้เย็น จึงนําไปตัดขั้วด้วยกรรไกรหนีบหมาก จะเผยให้เห็น เมล็ดลูกชกด้านใน ที่เรียงกันอยู่ 3 เมล็ด ชาวบ้านบอกว่า ให้ใช้หางช้อนกลาง “แคว้ก” ออกมา เสร็จแล้ว จะต้องนําไปแช่น้ําสะอาดไว้อีกหนึ่งคืน จึงจะได้เมล็ดลูกชกผิวขาวใสและไม่มียางจริง ๆ อย่าใช้น้ําฝนหรือน้ําประปา ต้องใช้น้ําบาดาลหรือน้ําบ่อ เพราะฝุ่นในน้ําฝนหรือคลอรีนใน น้ําประปาจะทําให้เมล็ดดํา ไม่สวยและไม่อร่อย ท้ายสุดจึงนําลูกชกที่ได้เหล่านี้ไปทําขนม เช่น ลูกชกเชื่อมหรือ ลูกชกลอยแก้ว หวานหอมชวนรับประทาน เนื้อนุ่มกว่าลูกชิด อร่อยเหมือนกินลูกตาล แต่เคี้ยวง่ายกว่ามาก เห็นเมล็ดเล็ก ๆ จิ๋ว ๆ แค่นี้ แต่ราคาขายลูกชกสดนั้นไม่ธรรมดา ตกกิโลกรัมละ 100-120 บาทเลยทีเดียว

ลูกชก-6.jpg
images (5).jpg

นอกจากจะใช้ผลสดของลูกชกมาแปรรูปเป็นของหวานแล้ว ยอดอ่อนก็สามารถนําไปประกอบอาหาร คาวหวานได้เช่นกัน ทํานองเดียวกับที่เราใช้ยอดมะพร้าวมาปรุง ส่วนงวงหรือดอก เขาก็นิยมทํา น้ําตาลชกสด คือนําน้ําหวานที่ได้จากดอกชกไปเคี่ยวจนกลายเป็นน้ําตาลเหนียวหนืด แล้วจึงแปรรูปเป็น น้ําตาลแว่นต่อไป

bottom of page